ข่าวสารและบทความ
News and Articles
หลักสูตรแนะนำ
Recommend Course

หลักสูตรผู้ตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน (QC ล้ง) ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลัก...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุเป็นมาตรฐานบังคับ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 10 กรกฎาคม 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนการจำหน่ายผลทุเรียนที่แก่ มีคุณภาพตามมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคและเวทีการค้า ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพทุเรียนไทยเพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้นโดยมาตรฐานฉบับนี้ได้ระบุไว้ว่า ผู้ตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน (Qc ประจำโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ) จะต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรที่ต้องครอบคลุมเนื้อหาอย่างน้อย1. เทคนิคการตรวจพินิจลักษระภายนอกของผลทุเรียนแก่2. เทคนิคการวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนจากหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่ภาครัฐให้ความเห็นชอบมกอช. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำหลักสูตรผู้ตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียนตาม มกษ. 9070-2566 นี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน (Qc ประจำโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ) มีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามมาตรฐานได้
13 Video
9 File
2 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ. 9047...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
โรงรวบรวมผักและผลไม้สด เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตหลังการเก็บเกี่ยว จึงมีความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคและมีคุณภาพตามมาตรฐาน ดังนั้น คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องตามมาตรฐานได้
1 Video
2 File
2 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร : การปฏิบัติทางสุขลักษ...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ : หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (มกษ. 9023-2550) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 ซึ่งมีเนื้อหาและสาระสำคัญเป็นไปตามมาตรฐานโคเด็กซ์ เรื่อง หลักการรทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร (General Principles of Food Hygiene; CXC1-1969) ภายใต้โครงการมาตรฐานอาหารร่วม เอฟ เอ โอ/ดับเบิลยู เอช โอ (Joint FAO/WHO Food Standards Programme)ที่ประชุมคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ (Codex Alimentarius Commission) ครั้งที่ 43 ได้ทบทวนมาตรฐานหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร ที่เกี่ยวกับความตระหนักของผู้ประกอบการอาหารเกี่ยวกับอันตรายและมาตรการควบคุมเพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมต่อการบริโภคการกำหนดการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีที่ต้องการความเอาใจใส่มากขึ้นและการเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ ดังนั้นคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรจึงเห็นควรทบทวน มกษ. 9023-2550 เพื่อให้มีเนื้อหาสาระสำคัญเป็นไปตามมาตรฐานโคเด็กซ์ฉบับปรับปรุงโดยมุ่งหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมในหัวข้อนี้ จะมีความรู้ความเข้าใจหลักการทั่วไปที่ผู้ประกอบการอาหารควรเข้าใจและปฏิบัติตามในทุกขั้นตอนของโซ่อาหาร และใช้เป็นพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลความปลอดภัยและความเหมาะสมอาหาร
3 Video
2 File
2 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวท...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางในการนำไปใช้ (มกษ. 9024-2550) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 ซึ่งมีเนื้อหาและสาระสำคัญเป็นไปตามมาตรฐานโคเด็กซ์ เรื่อง หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร (General Principles of Food Hygiene; CXC1-1969) ภายใต้โครงการมาตรฐานอาหารร่วม เอฟ เอ โอ/ดับเบิลยู เอช โอ (Joint FAO/WHO Food Standards Programme)โดยในมาตรฐานฉบับนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการของระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point : HACCP) จำนวน 7 ข้อ ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการนำระบบ HACCP ไปใช้; และอธิบายการนำระบบ HACCP ไปใช้
1 Video
2 File
2 Quiz
Certificate

ระบบการรับรองแบบกลุ่ม (Internal Control System)
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
ระบบการควบคุมภายในแบบกลุ่ม หรือ Internal Control System ถือเป็นระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากกับเกษตรกร เนื่องจากเป็นระบบประกันคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรที่ต้องมีการบริหารจัดการภายในกลุ่มเกษตรกร โดยใช้เอกสารเป็นเครื่องมือในการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์เงื่อนไขของหน่วยรับรอง สมาชิกในกลุ่มจะถูกตรวจแปลงเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยมีหน่วยรับรองจากภายนอก ทำหน้าที่ประเมินประสิทธิผลของระบบควบคุมภายใน รวมทั้งสุ่มตรวจสอบเกษตรกรจำนวนหนึ่ง เพื่อให้การรับรองมาตรฐานแก่กลุ่มเกษตรกร
โดยหลักสูตรนี้จัดทำขึ้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจความหมายของระบบควบคุมภายใน
คุณสมบัติของผู้ขอการรับรองแบบกลุ่ม หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการตรวจประเมิน
กระบวนการขอรับการรับรองแบบกลุ่ม ไปจนถึงขั้นตอนการตรวจประเมินเพื่อขอการรับรองตามมาตรฐาน
7 Video
1 File
2 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียน สำหรับโรงรวบรวมและ...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย มีคุณภาพ และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร ยกระดับสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งสู่การเกษตรที่มีมาตรฐานและยั่งยืน ปัจจุบันมีข้อมูลว่าในช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยวทุเรียนจะมีการตัดทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาดเพื่อเร่งจำหน่าย ซึ่งเป็นการทำลายตลาดทุเรียนในภาพรวม ส่งผลกระทบให้ราคาทุเรียน ทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศมีราคาตกต่ำ เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อทุเรียนไทย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จึงได้มีการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ (มกษ.9070-2566) ขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ การส่งออก และนำเข้า โดยให้บังคับใช้กับโรงรวบรวม/โรงคัดบรรจุที่มีการรวบรวมหรือคัดบรรจุทุเรียนทุกขนาด เพื่อให้ได้ผลทุเรียนที่แก่ได้ที่ มีคุณภาพตามมาตรฐานออกสู่ตลาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และยกระดับคุณภาพของทุเรียนไทยเพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมจะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเทคนิคการตรวจพินิจลักษณะภายนอกของผลทุเรียนแก่ และเทคนิคการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของผลทุเรียน ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิต และผู้ที่สนใจทั่วไปให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องตามมาตรฐาน
10 Video
3 File
5 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เกษตรอินทรีย์: การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำห...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เกษตรอินทรีย์ : การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลิตผล และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (มกษ. 9000-2564) เป็นระบบจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetic Modification) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน โดยผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรนี้ จะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เกษตรอินทรีย์ : การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลิตผล และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (มกษ. 9000-2564) และสามารถนำมาตรฐานไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามเกณฑ์ข้อกำหนดของมาตรฐานได้
6 Video
2 File
3 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-25...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-2564) เพื่อให้ผลิตผลการเกษตรของไทยเป็นที่ยอมรับทั้งด้านคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร ด้วยกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน โดยผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรนี้ จะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดตามมาตรฐานมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-2564) และสามารถนำมาตรฐานไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามเกณฑ์ข้อกำหนดของมาตรฐานได้
9 Video
2 File
10 Quiz
Certificate
หลักสูตรมาใหม่
New Arrival Course

หลักสูตรผู้ตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน (QC ล้ง) ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลัก...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุเป็นมาตรฐานบังคับ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 10 กรกฎาคม 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนการจำหน่ายผลทุเรียนที่แก่ มีคุณภาพตามมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคและเวทีการค้า ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพทุเรียนไทยเพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้นโดยมาตรฐานฉบับนี้ได้ระบุไว้ว่า ผู้ตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน (Qc ประจำโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ) จะต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรที่ต้องครอบคลุมเนื้อหาอย่างน้อย1. เทคนิคการตรวจพินิจลักษระภายนอกของผลทุเรียนแก่2. เทคนิคการวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียนจากหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่ภาครัฐให้ความเห็นชอบมกอช. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำหลักสูตรผู้ตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียนตาม มกษ. 9070-2566 นี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน (Qc ประจำโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ) มีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามมาตรฐานได้
13 Video
9 File
2 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ. 9047...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
โรงรวบรวมผักและผลไม้สด เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตหลังการเก็บเกี่ยว จึงมีความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคและมีคุณภาพตามมาตรฐาน ดังนั้น คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องตามมาตรฐานได้
1 Video
2 File
2 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร : การปฏิบัติทางสุขลักษ...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ : หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (มกษ. 9023-2550) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 ซึ่งมีเนื้อหาและสาระสำคัญเป็นไปตามมาตรฐานโคเด็กซ์ เรื่อง หลักการรทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร (General Principles of Food Hygiene; CXC1-1969) ภายใต้โครงการมาตรฐานอาหารร่วม เอฟ เอ โอ/ดับเบิลยู เอช โอ (Joint FAO/WHO Food Standards Programme)ที่ประชุมคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ (Codex Alimentarius Commission) ครั้งที่ 43 ได้ทบทวนมาตรฐานหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร ที่เกี่ยวกับความตระหนักของผู้ประกอบการอาหารเกี่ยวกับอันตรายและมาตรการควบคุมเพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมต่อการบริโภคการกำหนดการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีที่ต้องการความเอาใจใส่มากขึ้นและการเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ ดังนั้นคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรจึงเห็นควรทบทวน มกษ. 9023-2550 เพื่อให้มีเนื้อหาสาระสำคัญเป็นไปตามมาตรฐานโคเด็กซ์ฉบับปรับปรุงโดยมุ่งหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมในหัวข้อนี้ จะมีความรู้ความเข้าใจหลักการทั่วไปที่ผู้ประกอบการอาหารควรเข้าใจและปฏิบัติตามในทุกขั้นตอนของโซ่อาหาร และใช้เป็นพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลความปลอดภัยและความเหมาะสมอาหาร
3 Video
2 File
2 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวท...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางในการนำไปใช้ (มกษ. 9024-2550) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 ซึ่งมีเนื้อหาและสาระสำคัญเป็นไปตามมาตรฐานโคเด็กซ์ เรื่อง หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร (General Principles of Food Hygiene; CXC1-1969) ภายใต้โครงการมาตรฐานอาหารร่วม เอฟ เอ โอ/ดับเบิลยู เอช โอ (Joint FAO/WHO Food Standards Programme)โดยในมาตรฐานฉบับนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการของระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point : HACCP) จำนวน 7 ข้อ ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการนำระบบ HACCP ไปใช้; และอธิบายการนำระบบ HACCP ไปใช้
1 Video
2 File
2 Quiz
Certificate

ระบบการรับรองแบบกลุ่ม (Internal Control System)
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
ระบบการควบคุมภายในแบบกลุ่ม หรือ Internal Control System ถือเป็นระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากกับเกษตรกร เนื่องจากเป็นระบบประกันคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรที่ต้องมีการบริหารจัดการภายในกลุ่มเกษตรกร โดยใช้เอกสารเป็นเครื่องมือในการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์เงื่อนไขของหน่วยรับรอง สมาชิกในกลุ่มจะถูกตรวจแปลงเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยมีหน่วยรับรองจากภายนอก ทำหน้าที่ประเมินประสิทธิผลของระบบควบคุมภายใน รวมทั้งสุ่มตรวจสอบเกษตรกรจำนวนหนึ่ง เพื่อให้การรับรองมาตรฐานแก่กลุ่มเกษตรกร
โดยหลักสูตรนี้จัดทำขึ้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจความหมายของระบบควบคุมภายใน
คุณสมบัติของผู้ขอการรับรองแบบกลุ่ม หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการตรวจประเมิน
กระบวนการขอรับการรับรองแบบกลุ่ม ไปจนถึงขั้นตอนการตรวจประเมินเพื่อขอการรับรองตามมาตรฐาน
7 Video
1 File
2 Quiz
Certificate

มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียน สำหรับโรงรวบรวมและ...
0 คนสนใจหลักสูตรนี้
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย มีคุณภาพ และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร ยกระดับสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งสู่การเกษตรที่มีมาตรฐานและยั่งยืน ปัจจุบันมีข้อมูลว่าในช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยวทุเรียนจะมีการตัดทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาดเพื่อเร่งจำหน่าย ซึ่งเป็นการทำลายตลาดทุเรียนในภาพรวม ส่งผลกระทบให้ราคาทุเรียน ทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศมีราคาตกต่ำ เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อทุเรียนไทย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จึงได้มีการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ (มกษ.9070-2566) ขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ การส่งออก และนำเข้า โดยให้บังคับใช้กับโรงรวบรวม/โรงคัดบรรจุที่มีการรวบรวมหรือคัดบรรจุทุเรียนทุกขนาด เพื่อให้ได้ผลทุเรียนที่แก่ได้ที่ มีคุณภาพตามมาตรฐานออกสู่ตลาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และยกระดับคุณภาพของทุเรียนไทยเพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยคาดหวังว่าผู้ที่ผ่านการอบรมจะเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเทคนิคการตรวจพินิจลักษณะภายนอกของผลทุเรียนแก่ และเทคนิคการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของผลทุเรียน ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิต และผู้ที่สนใจทั่วไปให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องตามมาตรฐาน
10 Video
3 File
5 Quiz
Certificate